ศิริราช

ฝ่ายการพยาบาลฯ เข้าศึกษาดูงาน DM Foot Clinic

เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 น. บุคลากรจากฝ่ายการพยาบาลฯ จำนวน 15 คน ได้เข้าศึกษาดูงาน DM foot clinic ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.พญ. กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมต้อนรับ พบปะ พูดคุย กับทีมผู้เข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คณะผู้ศึกษาดูงาน จะได้โยชน์จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ในการให้บริการผู้ป่วยในสังคมไทยต่อไป

Read More

ฝ่ายการพยาบาลฯ เข้าศึกษาดูงาน DM Foot Clinic

เมื่อวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 น. บุคลากรจากฝ่ายการพยาบาลฯ จำนวน 15 คน ได้เข้าศึกษาดูงาน DM foot clinic ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.พญ. กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมต้อนรับ พบปะ พูดคุย กับทีมผู้เข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คณะผู้ศึกษาดูงาน จะได้โยชน์จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ในการให้บริการผู้ป่วยในสังคมไทยต่อไป

Read More

คุณดวงเดือน เจริญจิตต์กุล มอบเงินบริจาคกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366)

 

คุณดวงเดือน  เจริญจิตต์กุล มอบเงินบริจาค จำนวน 1,000,000 (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366) รับมอบโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ตึกอำนวยการ  โรงพยาบาลศิริราช  วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565

 

สำหรับผู้ที่สนใจบริจาค สามารถศึกษาได้ที่  การบริจาคทุนทรัพย์เพื่อผู้พิการ

Read More

PO in Cinema : Harry Potter

★ วิงการ์เดียม เลวีโอซ่า !!! เปิดมาขนาดนี้ PO in Cinema เดือนนี้คงหนีไปไม่พ้นภาพยนตร์อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดแม่มดในโลกของผู้วิเศษ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ ออกฉายครั้งแรกในปี 2001 กับภาคศิลาอาถรรพ์ และปิดฉากด้วยภาค 7.2 เครื่องรางยมทูต ในปี 2011 นับจากปีแรกมาจนปัจจุบันความนิยมของหนังเรื่องนี้ยังคงถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องทำให้ปีนี้เป็นการครบรอบ 20 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่ได้สร้างความสนุกในโลกไร้เวทมนตร์ใบนี้ SSPO THAILAND จึงอยากหยิบยกบทความที่มีประเด็นน่าสนใจมาเล่าให้ทุกคนอ่านกัน
.
Line PO in Cinema
.
★ “What we can learn about disability from Harry Potter’s amputee characters“ (เรียนรู้ความพิการจากบทบาทตัวละครในหนังแฮรี่พอตเตอร์) คือบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดย เอมิลี่ ฮาร์วีย์ (Emily Harvey) เธอคือหญิงสาวผู้พิการคนแรกที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองไปกับขาเทียมคู่ใจของเธอผ่านการลงแข่งไตรกีฬาในงาน Ironman Boulder ปี2018 เอมิลี่เริ่มใส่ขาเทียมตอนอายุ 2 ขวบจากโรค Fibular Hemimelia หรือการขาดหายไปทั้งหมด/บางส่วนของกระดูกน่อง (Fibula bone) ทั้งนี้เธอได้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมาในชื่อ emily-harvey.com ที่เป็นเหมือนกับบล็อกส่วนตัวที่เอาไว้รวบรวมเรื่องราวชีวิต กิจกรรมที่เธอไปทำมา รวมถึงบทความนี้ด้วย
.
Line PO in Cinema
.
★ เอมิลี่เริ่มต้นบทความด้วยตัวละครอย่าง ปีเตอร์ เพ็ตติกรูว์ (Peter Pettigrew) หรือหางหนอน (Wormtail) โดยในภาคที่4 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ปีเตอร์ได้ตัดแขนข้างขวาของตัวเองเพื่อชุบชีวิตให้กับลอร์ดโวลเดอมอร์ (Lord Voldemort) และหลังจากที่ฟื้นคืนชีพ โวลเดอมอร์ก็ได้เสกแขนสีเงินเงาวับให้กับปีเตอร์เป็นการตอบแทน ฉากนี้เองเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เคโรว์ ลิง(J.K. Rowling) ที่ได้เขียนบทตัวละครนี้ขึ้น มันทำให้เห็นว่าการเป็นผู้พิการไม่ได้บ่งบอกหรือกำหนดตัวตนว่าเขาเป็นคนอย่างไร เขาหรือเธอสามารถเป็นได้ทั้งคนดีและคนที่สามารถทำผิดหรืออยู่ก้ำๆกึ่งๆ ได้เหมือนกับคนอื่นทั่วไป เอมิลี่ได้พูดถึงตัวเองว่า หลายครั้งที่เธอต้องพบเจอกับผู้คนที่เมื่อรู้ว่าเธอเป็นผู้พิการแต่ยังสามารถมาเล่นกีฬาได้อย่างไตรกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย พวกเขาเหล่านั้นต่างก็เข้ามาชื่นชมเธอ ทั้งๆ ที่พวกเขาแทบจะไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเธอเลย แค่เพียงเพราะว่าเธอเป็นคนพิการ มันจึงไม่เท่ากับเธอเป็นคนดีหรือเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจอะไร ตัวละครอย่างหางหนอนจึงเป็นการทำให้ ผู้อ่านหรือผู้ชมรับรู้ได้ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นตัวร้ายได้นะ เหมือนกับกัปตันฮุก(Captain Hook)จากเรื่องปีเตอร์แพน (Peter Pan)หรือดาร์ธ เวเดอร์ (Darth vader)จาก สตาร์ วอร์ส(Star Wars) แต่ต่างกันตรงที่ปีเตอร์อยู่กึ่งกลางระหว่างนั้น คือก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรขนาดนั้น ก็เป็นเหมือนคนทั่วไปก็เท่านั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกตัวละครที่เอมิลี่กล่าวถึง คือ Alastor Moody (อลาสเตอร์ มู้ดดี้) หรือ Professor Moody (ศาสตราจารย์มู้ดดี้) เขาคือหนึ่งในมือปราบมารที่พวกเราจดจำเอกลักษณ์ของเขาได้อย่างแม่นยำ ด้วยความที่เขาได้สูญเสียดวงตาและขาข้างซ้ายไปจากสงครามโลกเวทมนตร์ครั้งที่1 ทำให้ในภาพยนตร์เราจะเห็นเขาใส่แว่นตาวิเศษทรงกลมคาดไว้ที่ศีรษะ และเจ้าแว่นตานี้เองก็เป็นที่มาของชื่อเล่นของเขาว่า “Mad Eye” คำนี้เองที่ดูเหมือนว่ามันจะสื่อไปในเชิงลบหรือเป็นการล้อเลียนแต่ในบริบทที่ตัวละครอื่นๆ เรียกอลาสเตอร์นั้นกับให้ความรู้สึกถึงความรักและความพิเศษในตัวของอลาสเตอร์ รวมถึงการที่อลาสเตอร์ใส่ขาเทียมนั้นก็ไม่มีการพูดถึงข้อจำกัด หรือทำให้เป็นอุปสรรคใดๆ ตัวละครนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้กับเหล่าผู้เสพความตายได้อย่างเต็มที่ไม่แพ้กับตัวละครอื่นๆ เลย
.
Line PO in Cinema
.
★ ในช่วงสุดท้ายเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) และทุกๆ คนที่ทำให้เกิดหนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมันได้ส่งต่อเรื่องราวของตัวละครที่มีความพิการได้แตกต่างออกไปจากภาพยนตร์หรือสื่ออื่นๆ ที่ผ่านมา
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับPO in Cinema : Harry Potter ในเดือนธันวาคม หากใครชื่นชอบสามารถกดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้เรากันได้ และหากใครมีภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการกายอุปกรณ์ของเราก็สามารถคอมเมนท์มาบอกกันได้เลยน้า
.
Line PO in Cinema
.
ขอบคุณบทความจาก emily-harvey
_______________________
ขอบคุณข้อมูลจาก
_______________________
เรียบเรียงโดย มธุริน รายรัตน์
รูปภาพ – เผยแพร่ วัชรี โทสาลี
บทความที่เกี่ยวข้อง
Read More

PO in Cinema : Forrest Gump

★ วันนี้ SSPO Thailand รายการ PO in Cinema จะชวนทุกคนมาพูดถึงภาพยนตร์แนว Comedy – Drama อย่าง Forrest Gump ที่ถูกฉายครั้งแรกในปี 1994 คิดว่าหลายท่านน่าจะเคยดูหรือเห็นผ่านตากันมาบ้าง แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาชวนดูหนังหรือรีวิวให้ดาวอะไร แต่จะพูดถึงฉากเล็กๆ ที่สอดแทรกความกายอุปกรณ์เอาไว้
.
Line PO in Cinema
.
★ ฉากที่ว่านั้นเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของหนัง เป็นช่วงที่เด็กชายฟอเรซและแม่ของเขาไปพบคุณหมอในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยในฉากนั้นคุณหมอกำลังใส่อุปกรณ์หน้าตาประหลาดไว้ที่ขาทั้งสองข้างของฟอเรซ อุปกรณ์ที่ว่านั้นคือ “อุปกรณ์เสริมดามข้อเข่าและข้อเท้าชนิดเหล็ก – Conventional Knee Ankle Foot Orthosis (KAFO)” KAFO ที่ถูกใช้ในทางการแพทย์มายาวนาน ประกอบขึ้นจากโลหะและหนังเป็นวัสดุหลัก โดยส่วนมากหน้าที่ของอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกใช้เพื่อช่วยพยุงหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและข้อเท้า โดยส่วนมาก KAFO ถูกใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโครงสร้างขาผิดรูป (Structural Deformities) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Conditions) เช่น โรคอัมพฤกษ์ อาการไข้สันหลังบาดเจ็บ หรือ โปลิโอ ย้อนไปในช่วงปี 1950 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโปลิโอ ทำให้ เริ่มมีการผลิตKAFOและถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงปี 1970 ได้มีการเริ่มใช้วัสดุพลาสติกเข้ามาเป็นส่วนประกอบ (Thermoplastic KAFO) และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวัสดุและส่วนประกอบให้ดียิ่งขึ้นจนถึงปัจุบัน
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกฉากที่มีความเชื่อมโยงกับวงการกายอุปกรณ์คือฉากหลังการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม หัวหน้าทหารของฟอเรซ หรือที่เรารู้จักเขากันว่า หมวดแดน ได้สูญเสียขาทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับต้นขาลงไป (Bilateral Transfemoral Amputation) จากระเบิดในสงคราม ทำให้หลังจากนั้นชีวิตเขาต้องใช้ชีวิตบนวีลแชร์เป็นหลัก แต่หลังจากที่เรื่องราวของทุกตัวละครคลี่คลายลง ในช่วงท้ายของหนังจะมีฉากเล็กๆ ของหมวดแดนที่สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งด้วยการใช้ “ขาเทียม” โดยหนังต้องการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและการก้าวไปข้างหน้าของตัวละครนี้นั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ สงครามคือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กายอุปกรณ์เทียมถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องของรูปแบบ วัสดุที่นำมาใช้รวมถึงการเกิดขึ้นขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ Amputations and Prosthetics ได้มีการกล่าวถึงวิวัฒนาการของขาเทียม ในช่วงสงครามกลางเมือง (American Civil War) ตั้งแต่ปี 1861 – 1865 ช่วงสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และ 2 มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดและเริ่มมีสวัสดิการให้แก่ทหารที่สูญเสียแขนขาไปจากสงคราม อย่างในปี 1863 เริ่มมีการนำระบบสูญญากาศมาใช้กับเบ้าขาเทียม (Suction Socket) มีการพัฒนาของข้อเข่า Polycentric Knee Unit และ Multi-axis Foot ต่อมาในปี 1949 ได้มีการก่อตั้ง American Orthotics and Prosthetics Association (AOPA) และเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ยังคงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเทคนิคการผ่าตัด รูปแบบเท้าเทียม รูปแบบเบ้าขาเทียม และโครงสร้างโดยรวม
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับ PO in Cinema: Forrest Gump หากใครมีภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือสื่อต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง (ซักนิด) เกี่ยวกับกายอุปกรณ์สามารถมาบอกเล่ากันได้ทาง SSPO THAILAND

 


★ ขอขอบคุณข้อมูล ★
ภาพประกอบ – เผยแพร่ นางสาววัชรี โทสาลี
Read More

บริษัท โลหะกิจรุ่งเจริญทรัพย์ โดยคุณสุทธิคำ แต่โสภาพงษ์ มอบเงินบริจาคกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366)

 

บริษัท โลหะกิจรุ่งเจริญทรัพย์ โดยคุณสุทธิคำ แต่โสภาพงษ์ มอบเงินบริจาค จำนวน 1,000,000 (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366) รับมอบโดย รศ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ อ.ธนธัช จรัสรุ่งโอฬาร รองผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ฝ่ายสื่อสารองค์กร งานโยธาและสารสนเทศ ณ หอสมุดศิริราช วันพุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2564

 

สำหรับผู้ที่สนใจบริจาค สามารถศึกษาได้ที่  การบริจาคทุนทรัพย์เพื่อผู้พิการ

Read More

คุณเลิศลักษณ์ บุรุษพัฒน์ มอบเงินบริจาคกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366)

 

คุณเลิศลักษณ์ บุรุษพัฒน์ มอบเงินบริจาค จำนวน 3,000,000 (สามล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366) รับมอบโดย รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช รศ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ อ.ธนธัช จรัสรุ่งโอฬาร รองผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ฝ่ายสื่อสารองค์กร งานโยธาและสารสนเทศ ณ ตึกอำนวยการ วันพุธ ที่ 24 พฤศจิกายน 2564

 

สำหรับผู้ที่สนใจบริจาค สามารถศึกษาได้ที่  การบริจาคทุนทรัพย์เพื่อผู้พิการ

Read More
,

อยากเรียนกายอุปกรณ์

อยากเรียนกายอุปกรณ์

SSPO

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์
Bachelor of Science Program in Prosthetics and Orthotics

อยากเรียนกายอุปกรณ์ !! แต่กายอุปกรณ์มีหลักเกณฑ์การรับเข้าเรียนต่อยังไงบ้าง มีรับกี่รอบ รอบละกี่คน สถิติการรับเข้าเรียนต่อมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ? ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย … สาขานี้จะรับอย่างไรก็ไม่รู้ … หันไปถามเพื่อนที่นั่งข้างๆดู อยากจะรู้ในความเป็นไป … เธอยังไม่รู้เรื่อง Admission ใช่หรือเปล่า ? เธอนั้นอยากเรียนกายอุปกรณ์ ใช่หรือไม่ ? เธอยังคงนั่งสงสัยคนเดียว ยังรอคำตอบคนเดียว เธอยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ใช่ไหม … ช่วยบอก ให้รู้ที

นักร้องข้ามกำพังร้องจนจบเพลงแล้ว น้องบอก ร้องทำไมพี่ ไม่ได้คำตอบสักอย่าง … แหม ใจเย็นๆสิ ที่นี่มีคำตอบเสมอแหละจ้า  ก็ต้องบอกเลยว่า ฤดูกาลของ TCAS65 วนมาอีกแล้ว เหมือนใจน้อง ที่มูฟออนเป็นวงกลม TCAS ก็วนเป็นวงทุกปีเช่นกัน ซึ่งปีนี้ ทางโรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็ได้รับคำถามจากน้องๆอย่างล้นหลาม

  • เปิดเมื่อไหร่ ?
  • รับอย่างไร ?
  • รับกี่รอบ ?
  • รอบละกี่คน ?
  • บลา บลา บลา

ใต้ความอยากเรียนสาขานี้ ต่างก็มีคำถามมากมายหลายหลาก  เริ่มต้นจาก กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? จนไปถึงการรับสมัครเป็นอย่างไร … มาค่ะ มาหาคำตอบไปพร้อมๆกัน

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นหลักสูตรที่มีทั้ง หลักสูตรไทย และ หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งมีข้อกำหนดในการรับเข้าศึกษาต่อแตกต่างกัน และเหมาะกับนักศึกษาต่างกลุ่มกัน โดยในบทความนี้ เราจะมาโฟกัสที่หลักสูตรไทย ในระดับปริญญาตรีกันค่ะ

 

  1. การรับนักศึกษามีทั้งหมดกี่รอบ
    ขอบอกว่า การรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ มีการเปิดรับทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งในแต่ละรอบก็จะมีรายละเอียดการรับในจำนวนที่แตกต่างกัน  โดยในปี 2565 นี้ สามารถดูจำนวนรับนักศึกษาได้จาก เอกสารจำนวนที่เปิดรับ รอบ 1-3 ปี 2565  โดยเอกสารจะมีรายละเอียดหลักเกณฑ์เบื้องต้น ที่น้องๆ ต้องผ่านให้ได้ในแต่ละรอบด้วยนะคะ
  2. การรับเข้าศึกษาแต่ละรอบ มีความแตกต่างกันอย่างไร
    ขอเริ่มจาก รอบที่ 1 Portfolio  รับแค่รอบ 1/2 เท่านั้น
    โดยจะมีการส่งพอร์ต และอัดคลิป VDO แนะนำตัวเองสั้นๆ พร้อมกิจกรรมที่น้องๆเคยทำมา ในช่วงที่เรียนมัธยมอยู่ ( ขายความเป็นตัวเองยังไงก็ได้ ให้คณะกรรมการเลือกเรา เน้นความจึ้งในตัวน้องๆเป็นหลัก ) เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว ก็จะมีการสัมภาษณ์ โดยน้องๆควรเตรียมตัวการสอบสัมภาษณ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พกความมั่นใจมาให้เต็มกระเป๋า แล้วมาเจอกันที่ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  3. รอบที่ 2 และ รอบที่ 3 ของปี 2565 จะมีจำนวนรับที่แตกต่างกัน โดยสามารถดูสถิติคะแนนที่ผ่านมาได้ จากเอกสารที่พี่ฝ่ายการศึกษาอัปเดตไว้ให้ รวมถึงดูภาพรวมการรับเข้าศึกษาได้จาก หลักสูตรสำหรับนักเรียนไทย นั่นเอง
  4. จะทำการสมัครอย่างไร
    การรับเข้าศึกษาต่อนั้น จะรับผ่านระบบ TCAS 2565 สำหรับ ทุกๆรอบ โดยที่น้องๆควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านระบบ TCAS 2565 และเว็บไซต์ Mahidol TCAS อีกครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

TCAS

 

Mahidol TCAS

สามารถคลิกที่รูปภาพ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ TCAS และ Mahidol TCAS ได้


Website ที่ผู้สมัครควรรู้จัก


 

ถ้าเธอฮู้แล้ว … เธอจะสมัครอยู่บ่ ?

แหม … สมัครสิเนอะ … สาขาวิชาดีๆแบบนี้ ปล่อยพลาดได้ไง (( แอบกระซิบว่า รอบพอร์ตในปีนี้ รับมากกว่าปีอื่นๆด้วยนะ )) ถ้าถามว่าสาขาเราต้องการคนแบบไหน ก็อยากจะบอกเลยว่า ต้องการคนที่ “อยากเรียนในสาขานี้จริงๆ” มั่นคง และแน่วแน่ ในการเรียนในสาขาวิชานี้ อยากเติบโตไปพร้อมๆกับครอบครัวกายอุปกรณ์ของพวกเรา

พี่ๆ ฝ่ายการศึกษาทุกคน รวมถึงรุ่นพี่ทุกๆรุ่น ทุกๆประเทศทั่วโลก รอต้อนรับน้องๆ เข้าสู่รั้วโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วเจอกันในปีการศึกษา 2565 นี้นะ

CPO

Read More