พาราลิมปิก

ความหลากหลายของกีฬากรีฑา อีกหนึ่งความสำเร็จของไทยใน พาราลิมปิก เกมส์ โตเกียว 2020

ความหลากหลายของกีฬากรีฑา อีกหนึ่งความสำเร็จของไทยใน พาราลิมปิก เกมส์ โตเกียว 2020

เมื่อไม่นานมานี้หลายคนน่าจะได้ยินข่าวดีจากทัพนักกีฬาไทยใน พาราลิมปิก โตเกียว 2020 แล้วถึงการได้รับชัยชนะ จากการแข่งขันประเภทกรีฑา มาถึง 9 เหรียญด้วยกัน

กีฬากรีฑาในพาราลิมปิคเกมส์ถูกแบ่งออกเป็น 6 คลาสด้วยกันนั่นเอง โดยในแต่ละคลาสก็จะถูกแบ่งออกอีกเป็น 2 ประเภท คือแบบลู่ T (track)กับประเภทลาน F (field)

คลาสที่ 1 vision impairment (T/F11-T/F13) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสายตา โดยจะมีการแบ่งรายละเอียดรูปแบบการแข่งขันลงไปอีกเพื่อความยุติธรรม

คลาสที่ 2 INTELLECTUAL IMPAIRMENT (T20/F20) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีการแข่งขันทั้งรูปแบบการวิ่ง(running)และการกระโดดไกล(long jump)

คลาสที่ 3 COORDINATION IMPAIRMENTS (F31, T32/F32-T38/F38) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องในการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ เช่นผู้เข้าแข่งขันที่มีภาวะสมองพิการ(cerebral Palsy)หรือภาวะบาดเจ็บของสมอง(Traumatic Brain Injury)โดยในคลาสนี้จะมีการแข่งขันทั้งในรูปแบบของการขว้าง(throwing )การกระโดดไกล(long jump)หรือการวิ่ง(running) เป็นต้น

คลาสที่ 4 SHORT STATURE (T40/F40, T41/F41)หรือ ภาวะตัวเตี้ย ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิด ตามส่วนสูงและสัดส่วนของแขน

คลาสที่ 5 LIMB DEFICIENCIES (T42/F42 – T46/F46, T47; T/F61-64)สำหรับนักกีฬาที่สูญเสียขาหรือแขนทั้งจากการผ่าตัดหรือจากความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด โดยในการแข่งขันจะมีทั้งการแข่งในรูปแบบของการทุ่มน้ำหนักหรือการแข่งขันขว้างลูกเหล็ก(shot put) กระโดดสูง(high jump)และการวิ่ง(running)ซึ่งในคลาสนี้ นักกีฬาจะมีการใช้ขาเทียมหรือแขนเทียมมาเป็นอีกส่วนสำคัญในการเข้าแข่งขันอีกด้วย

คลาสที่ 6 IMPAIRED MUSCLE POWER OR IMPAIRED RANGE OF MOVEMENT (T51-54; F51-57)หรือผู้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีการเคลื่อนไหวจำกัด นักกีฬาในคลาสนี้จะมีทั้งการแข่งโดยใช้วีลแชร์อย่าง วีลแชร์เรซซิ่งหรือการนั่งบนเก้าอี้เฉพาะสำหรับการแข่งขันในรูปแบบการขว้าง(Throwing chair) โดยการแข่งขันจะถูกแบ่งประเภทไปตามความสามารถของการใช้กำลังกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนแตกต่างกันไป

ขอบคุณข้อมูลจาก International Paralympic committee

Read More