
PO in Cinema : Harry Potter
★ วิงการ์เดียม เลวีโอซ่า !!! เปิดมาขนาดนี้ PO in Cinema เดือนนี้คงหนีไปไม่พ้นภาพยนตร์อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดแม่มดในโลกของผู้วิเศษ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ ออกฉายครั้งแรกในปี 2001 กับภาคศิลาอาถรรพ์ และปิดฉากด้วยภาค 7.2 เครื่องรางยมทูต ในปี 2011 นับจากปีแรกมาจนปัจจุบันความนิยมของหนังเรื่องนี้ยังคงถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องทำให้ปีนี้เป็นการครบรอบ 20 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่ได้สร้างความสนุกในโลกไร้เวทมนตร์ใบนี้ SSPO THAILAND จึงอยากหยิบยกบทความที่มีประเด็นน่าสนใจมาเล่าให้ทุกคนอ่านกัน
.

.
★ “What we can learn about disability from Harry Potter’s amputee characters“ (เรียนรู้ความพิการจากบทบาทตัวละครในหนังแฮรี่พอตเตอร์) คือบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดย เอมิลี่ ฮาร์วีย์ (Emily Harvey) เธอคือหญิงสาวผู้พิการคนแรกที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองไปกับขาเทียมคู่ใจของเธอผ่านการลงแข่งไตรกีฬาในงาน Ironman Boulder ปี2018 เอมิลี่เริ่มใส่ขาเทียมตอนอายุ 2 ขวบจากโรค Fibular Hemimelia หรือการขาดหายไปทั้งหมด/บางส่วนของกระดูกน่อง (Fibula bone) ทั้งนี้เธอได้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมาในชื่อ emily-harvey.com ที่เป็นเหมือนกับบล็อกส่วนตัวที่เอาไว้รวบรวมเรื่องราวชีวิต กิจกรรมที่เธอไปทำมา รวมถึงบทความนี้ด้วย
.

.
★ เอมิลี่เริ่มต้นบทความด้วยตัวละครอย่าง ปีเตอร์ เพ็ตติกรูว์ (Peter Pettigrew) หรือหางหนอน (Wormtail) โดยในภาคที่4 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ปีเตอร์ได้ตัดแขนข้างขวาของตัวเองเพื่อชุบชีวิตให้กับลอร์ดโวลเดอมอร์ (Lord Voldemort) และหลังจากที่ฟื้นคืนชีพ โวลเดอมอร์ก็ได้เสกแขนสีเงินเงาวับให้กับปีเตอร์เป็นการตอบแทน ฉากนี้เองเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เคโรว์ ลิง(J.K. Rowling) ที่ได้เขียนบทตัวละครนี้ขึ้น มันทำให้เห็นว่าการเป็นผู้พิการไม่ได้บ่งบอกหรือกำหนดตัวตนว่าเขาเป็นคนอย่างไร เขาหรือเธอสามารถเป็นได้ทั้งคนดีและคนที่สามารถทำผิดหรืออยู่ก้ำๆกึ่งๆ ได้เหมือนกับคนอื่นทั่วไป เอมิลี่ได้พูดถึงตัวเองว่า หลายครั้งที่เธอต้องพบเจอกับผู้คนที่เมื่อรู้ว่าเธอเป็นผู้พิการแต่ยังสามารถมาเล่นกีฬาได้อย่างไตรกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย พวกเขาเหล่านั้นต่างก็เข้ามาชื่นชมเธอ ทั้งๆ ที่พวกเขาแทบจะไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเธอเลย แค่เพียงเพราะว่าเธอเป็นคนพิการ มันจึงไม่เท่ากับเธอเป็นคนดีหรือเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจอะไร ตัวละครอย่างหางหนอนจึงเป็นการทำให้ ผู้อ่านหรือผู้ชมรับรู้ได้ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นตัวร้ายได้นะ เหมือนกับกัปตันฮุก(Captain Hook)จากเรื่องปีเตอร์แพน (Peter Pan)หรือดาร์ธ เวเดอร์ (Darth vader)จาก สตาร์ วอร์ส(Star Wars) แต่ต่างกันตรงที่ปีเตอร์อยู่กึ่งกลางระหว่างนั้น คือก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรขนาดนั้น ก็เป็นเหมือนคนทั่วไปก็เท่านั้นเอง
.

.
★ อีกตัวละครที่เอมิลี่กล่าวถึง คือ Alastor Moody (อลาสเตอร์ มู้ดดี้) หรือ Professor Moody (ศาสตราจารย์มู้ดดี้) เขาคือหนึ่งในมือปราบมารที่พวกเราจดจำเอกลักษณ์ของเขาได้อย่างแม่นยำ ด้วยความที่เขาได้สูญเสียดวงตาและขาข้างซ้ายไปจากสงครามโลกเวทมนตร์ครั้งที่1 ทำให้ในภาพยนตร์เราจะเห็นเขาใส่แว่นตาวิเศษทรงกลมคาดไว้ที่ศีรษะ และเจ้าแว่นตานี้เองก็เป็นที่มาของชื่อเล่นของเขาว่า “Mad Eye” คำนี้เองที่ดูเหมือนว่ามันจะสื่อไปในเชิงลบหรือเป็นการล้อเลียนแต่ในบริบทที่ตัวละครอื่นๆ เรียกอลาสเตอร์นั้นกับให้ความรู้สึกถึงความรักและความพิเศษในตัวของอลาสเตอร์ รวมถึงการที่อลาสเตอร์ใส่ขาเทียมนั้นก็ไม่มีการพูดถึงข้อจำกัด หรือทำให้เป็นอุปสรรคใดๆ ตัวละครนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้กับเหล่าผู้เสพความตายได้อย่างเต็มที่ไม่แพ้กับตัวละครอื่นๆ เลย
.

.
★ ในช่วงสุดท้ายเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) และทุกๆ คนที่ทำให้เกิดหนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมันได้ส่งต่อเรื่องราวของตัวละครที่มีความพิการได้แตกต่างออกไปจากภาพยนตร์หรือสื่ออื่นๆ ที่ผ่านมา
.

.
★ จบไปแล้วกับPO in Cinema : Harry Potter ในเดือนธันวาคม หากใครชื่นชอบสามารถกดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้เรากันได้ และหากใครมีภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการกายอุปกรณ์ของเราก็สามารถคอมเมนท์มาบอกกันได้เลยน้า
.

.
ขอบคุณบทความจาก emily-harvey
_______________________
ขอบคุณข้อมูลจาก
_______________________
เรียบเรียงโดย มธุริน รายรัตน์
รูปภาพ – เผยแพร่ วัชรี โทสาลี
บทความที่เกี่ยวข้อง