Lifestyle

SSPO 20th Anniversary

SSPO is now celebrating 20th anniversary! ✨✨
 
Can’t believe that it’s been already 20 years
since the school first established in 2002 and we are really proud of that.
 
We started from a few but now we are many,
but this will not stop us to continue growing more and more!
 
Join us on celebration by sending your e-card here:
 
Thank you for your continuous love and support towards SSPO!
Read More
,

วันจักรยานโลก 3 มิถุนายน กับงานวิจัยของอาจารย์ปิ่น

 

รู้หรือไม่ว่า วันที่ 3 มิถุนายน ถูกกำหนดให้เป็น “วันจักรยานโลก”

 

เราจะเห็นได้ว่า เทรนด์การปั่นจักรยานของประเทศไทยนั้นลุกขึ้นมาก มีบุคคลหลายกลุ่มที่เลือกปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้แต่เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน

 

วันนี้ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร อยากจะขอนำเสนองานวิจัยของ อ.ดร.จุฑามณี ปุ่นศิริ (อ.ปิ่น) ที่ศึกษาในเรื่องของ การปั่นจักรยานในผู้ที่สูญเสียขา ซึ่งอาจารย์ปิ่นได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ขณะศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งหนึ่งในงานวิจัยที่ได้ศึกษายังได้เลือกเป็น  Editor’s Choice Collection on the Tokyo Summer Games ตอนงานพาราลิมปิกเกมส์ 2021 โดยวารสารวิชาการที่งานถูกตีพิมพ์อีกด้วย (BMC Sports Science, Medicine and Rehabilitation )

 

จากงานวิจัยที่สำรวจการปั่นจักรยานทั้งในไทยเเละเนเธอร์แลนด์พบว่าผู้ที่สูญเสียขาส่วนใหญ่มักจะปั่นจักรยานเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ การพักผ่อนหย่อนใจและการเดินทาง โดยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการปั่นจักรยานคือการรับรู้ประโยชน์ของการปั่นจักรยาน การเคยปั่นจักรยานมาก่อนการสูญเสียขา รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมก็อาจมีผลให้คนตัดสินใจมาปั่นจักรยาน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ที่ปั่นจักรยานส่วนใหญ่ใช้เท้าเทียมที่มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าเท้ามาตรฐาน รวมทั้งพึงพอใจกับขาเทียมมากกว่าผู้ไม่ปั่นจักรยาน ดังนั้นการได้รับเท้าเทียมและอุปกรณ์ขาเทียมที่เหมาะสมอาจช่วยให้ผู้ที่ใช้ขาเทียมสามารถทำกิจกรรมต่างๆที่อยากทำได้มากขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ปั่นจักรยานนั้นมักจะรายงานปัญหา อุปสรรคหรืออันตรายจากการปั่นจักรยาน ยิ่งไปกว่านั้นการที่คนดัตช์ปั่นจักรยานมากกว่าไทยอาจสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวดัตช์ที่มีการปั่นจักรยานเป็นปกติและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทีเอื้อต่อการปั่นจักรยาน เช่น การเข้าถึงจักรยานไฟฟ้า เส้นทางการปั่นจักรยานและนโยบายด้านความปลอดภัยสําหรับผู้ใช้จักรยานที่ดี

 

ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีเส้นทางการปั่นจักรยาน หรือเลนพิเศษให้กับผู้ที่สนใจปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายหรือพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจปั่นจักรยาน รวมถึงผู้พิการที่สนใจการปั่นจักรยานด้วย

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านหันมาขยับร่างกายเพื่อสุขภาพ ออกมาเดิน วิ่ง หรือแม้แต่ปั่นจักรยาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในทุกๆวันร่วมกันนะคะ

 

ขอขอบคุณ  อ.ดร.จุฑามณี ปุ่นศิริ (อ.ปิ่น) 

สนใจอ่านงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3Q0L9ng และ https://bit.ly/3tcfQvZ 

 

รวมถึง ขอขอบคุณ ฝ่ายวิจัย โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

Read More

PO in Cinema : Harry Potter

★ วิงการ์เดียม เลวีโอซ่า !!! เปิดมาขนาดนี้ PO in Cinema เดือนนี้คงหนีไปไม่พ้นภาพยนตร์อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดแม่มดในโลกของผู้วิเศษ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ ออกฉายครั้งแรกในปี 2001 กับภาคศิลาอาถรรพ์ และปิดฉากด้วยภาค 7.2 เครื่องรางยมทูต ในปี 2011 นับจากปีแรกมาจนปัจจุบันความนิยมของหนังเรื่องนี้ยังคงถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องทำให้ปีนี้เป็นการครบรอบ 20 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่ได้สร้างความสนุกในโลกไร้เวทมนตร์ใบนี้ SSPO THAILAND จึงอยากหยิบยกบทความที่มีประเด็นน่าสนใจมาเล่าให้ทุกคนอ่านกัน
.
Line PO in Cinema
.
★ “What we can learn about disability from Harry Potter’s amputee characters“ (เรียนรู้ความพิการจากบทบาทตัวละครในหนังแฮรี่พอตเตอร์) คือบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดย เอมิลี่ ฮาร์วีย์ (Emily Harvey) เธอคือหญิงสาวผู้พิการคนแรกที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองไปกับขาเทียมคู่ใจของเธอผ่านการลงแข่งไตรกีฬาในงาน Ironman Boulder ปี2018 เอมิลี่เริ่มใส่ขาเทียมตอนอายุ 2 ขวบจากโรค Fibular Hemimelia หรือการขาดหายไปทั้งหมด/บางส่วนของกระดูกน่อง (Fibula bone) ทั้งนี้เธอได้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมาในชื่อ emily-harvey.com ที่เป็นเหมือนกับบล็อกส่วนตัวที่เอาไว้รวบรวมเรื่องราวชีวิต กิจกรรมที่เธอไปทำมา รวมถึงบทความนี้ด้วย
.
Line PO in Cinema
.
★ เอมิลี่เริ่มต้นบทความด้วยตัวละครอย่าง ปีเตอร์ เพ็ตติกรูว์ (Peter Pettigrew) หรือหางหนอน (Wormtail) โดยในภาคที่4 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ปีเตอร์ได้ตัดแขนข้างขวาของตัวเองเพื่อชุบชีวิตให้กับลอร์ดโวลเดอมอร์ (Lord Voldemort) และหลังจากที่ฟื้นคืนชีพ โวลเดอมอร์ก็ได้เสกแขนสีเงินเงาวับให้กับปีเตอร์เป็นการตอบแทน ฉากนี้เองเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เคโรว์ ลิง(J.K. Rowling) ที่ได้เขียนบทตัวละครนี้ขึ้น มันทำให้เห็นว่าการเป็นผู้พิการไม่ได้บ่งบอกหรือกำหนดตัวตนว่าเขาเป็นคนอย่างไร เขาหรือเธอสามารถเป็นได้ทั้งคนดีและคนที่สามารถทำผิดหรืออยู่ก้ำๆกึ่งๆ ได้เหมือนกับคนอื่นทั่วไป เอมิลี่ได้พูดถึงตัวเองว่า หลายครั้งที่เธอต้องพบเจอกับผู้คนที่เมื่อรู้ว่าเธอเป็นผู้พิการแต่ยังสามารถมาเล่นกีฬาได้อย่างไตรกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย พวกเขาเหล่านั้นต่างก็เข้ามาชื่นชมเธอ ทั้งๆ ที่พวกเขาแทบจะไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเธอเลย แค่เพียงเพราะว่าเธอเป็นคนพิการ มันจึงไม่เท่ากับเธอเป็นคนดีหรือเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจอะไร ตัวละครอย่างหางหนอนจึงเป็นการทำให้ ผู้อ่านหรือผู้ชมรับรู้ได้ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นตัวร้ายได้นะ เหมือนกับกัปตันฮุก(Captain Hook)จากเรื่องปีเตอร์แพน (Peter Pan)หรือดาร์ธ เวเดอร์ (Darth vader)จาก สตาร์ วอร์ส(Star Wars) แต่ต่างกันตรงที่ปีเตอร์อยู่กึ่งกลางระหว่างนั้น คือก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรขนาดนั้น ก็เป็นเหมือนคนทั่วไปก็เท่านั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกตัวละครที่เอมิลี่กล่าวถึง คือ Alastor Moody (อลาสเตอร์ มู้ดดี้) หรือ Professor Moody (ศาสตราจารย์มู้ดดี้) เขาคือหนึ่งในมือปราบมารที่พวกเราจดจำเอกลักษณ์ของเขาได้อย่างแม่นยำ ด้วยความที่เขาได้สูญเสียดวงตาและขาข้างซ้ายไปจากสงครามโลกเวทมนตร์ครั้งที่1 ทำให้ในภาพยนตร์เราจะเห็นเขาใส่แว่นตาวิเศษทรงกลมคาดไว้ที่ศีรษะ และเจ้าแว่นตานี้เองก็เป็นที่มาของชื่อเล่นของเขาว่า “Mad Eye” คำนี้เองที่ดูเหมือนว่ามันจะสื่อไปในเชิงลบหรือเป็นการล้อเลียนแต่ในบริบทที่ตัวละครอื่นๆ เรียกอลาสเตอร์นั้นกับให้ความรู้สึกถึงความรักและความพิเศษในตัวของอลาสเตอร์ รวมถึงการที่อลาสเตอร์ใส่ขาเทียมนั้นก็ไม่มีการพูดถึงข้อจำกัด หรือทำให้เป็นอุปสรรคใดๆ ตัวละครนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้กับเหล่าผู้เสพความตายได้อย่างเต็มที่ไม่แพ้กับตัวละครอื่นๆ เลย
.
Line PO in Cinema
.
★ ในช่วงสุดท้ายเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) และทุกๆ คนที่ทำให้เกิดหนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมันได้ส่งต่อเรื่องราวของตัวละครที่มีความพิการได้แตกต่างออกไปจากภาพยนตร์หรือสื่ออื่นๆ ที่ผ่านมา
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับPO in Cinema : Harry Potter ในเดือนธันวาคม หากใครชื่นชอบสามารถกดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้เรากันได้ และหากใครมีภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการกายอุปกรณ์ของเราก็สามารถคอมเมนท์มาบอกกันได้เลยน้า
.
Line PO in Cinema
.
ขอบคุณบทความจาก emily-harvey
_______________________
ขอบคุณข้อมูลจาก
_______________________
เรียบเรียงโดย มธุริน รายรัตน์
รูปภาพ – เผยแพร่ วัชรี โทสาลี
บทความที่เกี่ยวข้อง
Read More

PO in Cinema : Forrest Gump

★ วันนี้ SSPO Thailand รายการ PO in Cinema จะชวนทุกคนมาพูดถึงภาพยนตร์แนว Comedy – Drama อย่าง Forrest Gump ที่ถูกฉายครั้งแรกในปี 1994 คิดว่าหลายท่านน่าจะเคยดูหรือเห็นผ่านตากันมาบ้าง แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาชวนดูหนังหรือรีวิวให้ดาวอะไร แต่จะพูดถึงฉากเล็กๆ ที่สอดแทรกความกายอุปกรณ์เอาไว้
.
Line PO in Cinema
.
★ ฉากที่ว่านั้นเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของหนัง เป็นช่วงที่เด็กชายฟอเรซและแม่ของเขาไปพบคุณหมอในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยในฉากนั้นคุณหมอกำลังใส่อุปกรณ์หน้าตาประหลาดไว้ที่ขาทั้งสองข้างของฟอเรซ อุปกรณ์ที่ว่านั้นคือ “อุปกรณ์เสริมดามข้อเข่าและข้อเท้าชนิดเหล็ก – Conventional Knee Ankle Foot Orthosis (KAFO)” KAFO ที่ถูกใช้ในทางการแพทย์มายาวนาน ประกอบขึ้นจากโลหะและหนังเป็นวัสดุหลัก โดยส่วนมากหน้าที่ของอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกใช้เพื่อช่วยพยุงหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและข้อเท้า โดยส่วนมาก KAFO ถูกใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโครงสร้างขาผิดรูป (Structural Deformities) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Conditions) เช่น โรคอัมพฤกษ์ อาการไข้สันหลังบาดเจ็บ หรือ โปลิโอ ย้อนไปในช่วงปี 1950 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโปลิโอ ทำให้ เริ่มมีการผลิตKAFOและถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงปี 1970 ได้มีการเริ่มใช้วัสดุพลาสติกเข้ามาเป็นส่วนประกอบ (Thermoplastic KAFO) และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวัสดุและส่วนประกอบให้ดียิ่งขึ้นจนถึงปัจุบัน
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกฉากที่มีความเชื่อมโยงกับวงการกายอุปกรณ์คือฉากหลังการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม หัวหน้าทหารของฟอเรซ หรือที่เรารู้จักเขากันว่า หมวดแดน ได้สูญเสียขาทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับต้นขาลงไป (Bilateral Transfemoral Amputation) จากระเบิดในสงคราม ทำให้หลังจากนั้นชีวิตเขาต้องใช้ชีวิตบนวีลแชร์เป็นหลัก แต่หลังจากที่เรื่องราวของทุกตัวละครคลี่คลายลง ในช่วงท้ายของหนังจะมีฉากเล็กๆ ของหมวดแดนที่สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งด้วยการใช้ “ขาเทียม” โดยหนังต้องการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและการก้าวไปข้างหน้าของตัวละครนี้นั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ สงครามคือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กายอุปกรณ์เทียมถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องของรูปแบบ วัสดุที่นำมาใช้รวมถึงการเกิดขึ้นขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ Amputations and Prosthetics ได้มีการกล่าวถึงวิวัฒนาการของขาเทียม ในช่วงสงครามกลางเมือง (American Civil War) ตั้งแต่ปี 1861 – 1865 ช่วงสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และ 2 มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดและเริ่มมีสวัสดิการให้แก่ทหารที่สูญเสียแขนขาไปจากสงคราม อย่างในปี 1863 เริ่มมีการนำระบบสูญญากาศมาใช้กับเบ้าขาเทียม (Suction Socket) มีการพัฒนาของข้อเข่า Polycentric Knee Unit และ Multi-axis Foot ต่อมาในปี 1949 ได้มีการก่อตั้ง American Orthotics and Prosthetics Association (AOPA) และเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ยังคงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเทคนิคการผ่าตัด รูปแบบเท้าเทียม รูปแบบเบ้าขาเทียม และโครงสร้างโดยรวม
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับ PO in Cinema: Forrest Gump หากใครมีภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือสื่อต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง (ซักนิด) เกี่ยวกับกายอุปกรณ์สามารถมาบอกเล่ากันได้ทาง SSPO THAILAND

 


★ ขอขอบคุณข้อมูล ★
ภาพประกอบ – เผยแพร่ นางสาววัชรี โทสาลี
Read More
,

อยากเรียนกายอุปกรณ์

อยากเรียนกายอุปกรณ์

SSPO

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์
Bachelor of Science Program in Prosthetics and Orthotics

อยากเรียนกายอุปกรณ์ !! แต่กายอุปกรณ์มีหลักเกณฑ์การรับเข้าเรียนต่อยังไงบ้าง มีรับกี่รอบ รอบละกี่คน สถิติการรับเข้าเรียนต่อมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ? ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย … สาขานี้จะรับอย่างไรก็ไม่รู้ … หันไปถามเพื่อนที่นั่งข้างๆดู อยากจะรู้ในความเป็นไป … เธอยังไม่รู้เรื่อง Admission ใช่หรือเปล่า ? เธอนั้นอยากเรียนกายอุปกรณ์ ใช่หรือไม่ ? เธอยังคงนั่งสงสัยคนเดียว ยังรอคำตอบคนเดียว เธอยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ใช่ไหม … ช่วยบอก ให้รู้ที

นักร้องข้ามกำพังร้องจนจบเพลงแล้ว น้องบอก ร้องทำไมพี่ ไม่ได้คำตอบสักอย่าง … แหม ใจเย็นๆสิ ที่นี่มีคำตอบเสมอแหละจ้า  ก็ต้องบอกเลยว่า ฤดูกาลของ TCAS65 วนมาอีกแล้ว เหมือนใจน้อง ที่มูฟออนเป็นวงกลม TCAS ก็วนเป็นวงทุกปีเช่นกัน ซึ่งปีนี้ ทางโรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็ได้รับคำถามจากน้องๆอย่างล้นหลาม

  • เปิดเมื่อไหร่ ?
  • รับอย่างไร ?
  • รับกี่รอบ ?
  • รอบละกี่คน ?
  • บลา บลา บลา

ใต้ความอยากเรียนสาขานี้ ต่างก็มีคำถามมากมายหลายหลาก  เริ่มต้นจาก กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? จนไปถึงการรับสมัครเป็นอย่างไร … มาค่ะ มาหาคำตอบไปพร้อมๆกัน

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นหลักสูตรที่มีทั้ง หลักสูตรไทย และ หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งมีข้อกำหนดในการรับเข้าศึกษาต่อแตกต่างกัน และเหมาะกับนักศึกษาต่างกลุ่มกัน โดยในบทความนี้ เราจะมาโฟกัสที่หลักสูตรไทย ในระดับปริญญาตรีกันค่ะ

 

  1. การรับนักศึกษามีทั้งหมดกี่รอบ
    ขอบอกว่า การรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ มีการเปิดรับทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งในแต่ละรอบก็จะมีรายละเอียดการรับในจำนวนที่แตกต่างกัน  โดยในปี 2565 นี้ สามารถดูจำนวนรับนักศึกษาได้จาก เอกสารจำนวนที่เปิดรับ รอบ 1-3 ปี 2565  โดยเอกสารจะมีรายละเอียดหลักเกณฑ์เบื้องต้น ที่น้องๆ ต้องผ่านให้ได้ในแต่ละรอบด้วยนะคะ
  2. การรับเข้าศึกษาแต่ละรอบ มีความแตกต่างกันอย่างไร
    ขอเริ่มจาก รอบที่ 1 Portfolio  รับแค่รอบ 1/2 เท่านั้น
    โดยจะมีการส่งพอร์ต และอัดคลิป VDO แนะนำตัวเองสั้นๆ พร้อมกิจกรรมที่น้องๆเคยทำมา ในช่วงที่เรียนมัธยมอยู่ ( ขายความเป็นตัวเองยังไงก็ได้ ให้คณะกรรมการเลือกเรา เน้นความจึ้งในตัวน้องๆเป็นหลัก ) เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว ก็จะมีการสัมภาษณ์ โดยน้องๆควรเตรียมตัวการสอบสัมภาษณ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พกความมั่นใจมาให้เต็มกระเป๋า แล้วมาเจอกันที่ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  3. รอบที่ 2 และ รอบที่ 3 ของปี 2565 จะมีจำนวนรับที่แตกต่างกัน โดยสามารถดูสถิติคะแนนที่ผ่านมาได้ จากเอกสารที่พี่ฝ่ายการศึกษาอัปเดตไว้ให้ รวมถึงดูภาพรวมการรับเข้าศึกษาได้จาก หลักสูตรสำหรับนักเรียนไทย นั่นเอง
  4. จะทำการสมัครอย่างไร
    การรับเข้าศึกษาต่อนั้น จะรับผ่านระบบ TCAS 2565 สำหรับ ทุกๆรอบ โดยที่น้องๆควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านระบบ TCAS 2565 และเว็บไซต์ Mahidol TCAS อีกครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

TCAS

 

Mahidol TCAS

สามารถคลิกที่รูปภาพ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ TCAS และ Mahidol TCAS ได้


Website ที่ผู้สมัครควรรู้จัก


 

ถ้าเธอฮู้แล้ว … เธอจะสมัครอยู่บ่ ?

แหม … สมัครสิเนอะ … สาขาวิชาดีๆแบบนี้ ปล่อยพลาดได้ไง (( แอบกระซิบว่า รอบพอร์ตในปีนี้ รับมากกว่าปีอื่นๆด้วยนะ )) ถ้าถามว่าสาขาเราต้องการคนแบบไหน ก็อยากจะบอกเลยว่า ต้องการคนที่ “อยากเรียนในสาขานี้จริงๆ” มั่นคง และแน่วแน่ ในการเรียนในสาขาวิชานี้ อยากเติบโตไปพร้อมๆกับครอบครัวกายอุปกรณ์ของพวกเรา

พี่ๆ ฝ่ายการศึกษาทุกคน รวมถึงรุ่นพี่ทุกๆรุ่น ทุกๆประเทศทั่วโลก รอต้อนรับน้องๆ เข้าสู่รั้วโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วเจอกันในปีการศึกษา 2565 นี้นะ

CPO

Read More
,

กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ?

กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ?

จบไปทำอะไรได้บ้าง ?

คำถามสุดฮอต … ยังคิดฮอต แต่ตอบบ่ได้ (( เพลงก็คือเรียกได้ว่ารู้อายุแอดมิน )) … เอ๊ะ ไม่ใช่สิ !! คำถามสุดฮอต แต่คำตอบอยู่ที่นี่ ” กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? ” แหมมมม … ฤดูสมัครเรียนต่อก็วิ่งเข้ามา เวลาก็นับถอยหลัง อย่างกับ Squid Game !! แต่ก่อนจะถึงเป้าหมาย เราควรรู้และทำความเข้าใจก่อนว่า “กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร” ใครคนนั้นที่ใช่เราหรือเปล่า … เพราะต้องบอกก่อนว่า เลือกสาขาที่จะเรียน ก็เหมือนเลือกแฟนเลยทีเดียว เลือกถูกชีวิตสดใส เลือกผิดไปเสียเวลานะเออ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ Bachelor of Science Program in Prosthetic and Orthotics เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับ การออกแบบและผลิตอุปกรณ์เพื่อทดแทนอวัยวะจริง เช่น ขาเทียม แขนเทียม ข้อต่อเทียม เพื่อผู้พิการ นักกีฬา รวมถึงผู้สูงอายุ … รู้กันใช่ไหมล่ะ ว่า ประเทศไทย กำลังมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็ววัน (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาชีพนักกายอุปกรณ์)

 

แล้ว กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? เรียนยังไงบ้าง ? การเรียนในสาขานี้ จะเรียนในรูปแบบกึ่ง Inter (( จะบอกว่า Inter เลยก็ได้ในปี 2-4 ดังนั้น น้องๆควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาในระดับหนึ่งนะ ถึงแม้ว่าจะเรียนหลักสูตรไทยก็ตาม … เรียนแบบอินเตอร์ แต่ค่าเทอมแบบไทย ไม่คุ้มตรงไหน เอาปากกามาวง ))  โดยคำถามที่ว่า สาขานี้เหมาะกับใคร  ก็คงจะตอบได้เพียงคร่าวๆ ว่า

  • เหมาะกับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  มีจิตสาธารณะ
  • เหมาะกับคนที่ชอบการทำงานในสถานพยาบาล  ชอบช่วยเหลือคนไข้  และผู้พิการ รวมถึงผู้สูงอายุ
  • เหมาะกับคนที่อยากเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ในอนาคต
  • เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนต่อในสาขากายอุปกรณ์ ทั้งในและต่างประเทศ
  • เหมาะกับคนที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในสังคมผู้พิการและผู้สูงอายุ
  • เหมาะกับคนที่อยากประกอบอาชีพนักกายอุปกรณ์ >>> สำคัญสุดๆเลยนะข้อนี้

 

ถ้ารู้สึกว่า ใช่ !! เราอยากเรียนสาขานี้ หรือสนใจสาขานี้ สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บทความเรื่อง “อยากเป็นนักกายอุปกรณ์” แต่ !! ยังไม่พอนะ ทุกคนสามารถกด Like กดติดตาม Fanpage เพื่อติดตามข่าวสาร อัพเดตสดใหม่ ของโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ที่ SSPO Thailand

 

SSPO Thailand

 

นอกจากนี้ ทุกๆคน ยังสามารถเข้าเว็บไซต์ของเรา เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ในเมนู การศึกษา >> ก่อนปริญญา แล้วจะพบว่า ทุกคำถามยังมีคำตอบเสมอ

 

จะ TCAS กี่รอบ เราก็มีคำตอบให้ทุกคน … อยากให้ทุกคนได้เลือกหนทางที่เหมาะกับตัวเอง เลือกแผนการเรียนที่ใช่ แผนการเรียนที่ดีต่อใจ และเข้ามาพบกับความจึ้ง ในสาขาวิชานี้ได้ ที่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร

 

อ๊ะแต่ !! … แต่ว่า … รู้หมือไร่ ? สาขานี้ มีที่เดียวในประเทศไทยนะจ๊ะ แถมยังได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ การันตีด้วยรางวัลต่างๆ รวมถึงศิษย์เก่าที่เรียนจบไปแล้ว จากทั้งในและต่างประเทศ เพราะ เรามีนักศึกษาจากต่างประเทศ มาเรียนที่นี่ด้วยทุกๆปี และไม่ว่าจะจัดสัมนาอะไร ก็มีคนเข้าร่วมจากมากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก

 

Worldwide ขนาดนี้ ไม่สมัคร ไม่ยอมลง แอดมินจะงงใส่แล้วนะ … เอาอะไรมาไม่ปังก่อน หาที่ได้ได้ก่อน ไม่มี๊ เพราะ มีที่นี่ที่เดียวเลยจ้า อาจารย์เราแต่ละท่านก็ปังๆทั้งนั้น ปังทั้งหน้าตา และความรู้ ที่เรียกได้ว่าตบแถวการันตีความปั๊วะกันมาแบบสุดๆ

 

รุ่นพี่ก็น่ารัก … ได้เข้ามาระวังแอบหลงรักรุ่นพี่ มะงุ้ยยยยย ถึงที่โรงเรียนจะไม่มีผีเสื้อให้มาดู แต่รู้ไม๊ว่ารุ่นพี่น่ารักๆทั้งนั้นเลย สามารถพบกับรุ่นพี่ได้ที่ Fanpage ค่ายคนทำขา Born to be PO Camp ได้เลยจ้า

 

ค่ายคนทำขา

 

รุ่นพี่ไม่เพียงแต่น่ารัก แต่ยังพร้อมที่จะตอบคำถามรุ่นน้องได้ และถ้าใครอยากรู้จักสาขาวิชานี้มากกว่านี้ สามารถสมัครเข้าร่วมค่ายคนทำขากับพี่ๆได้เลยนะเออ … ค่ายนี้มีเปิดทุกปี เรียกได้ว่า มาทำความรู้จักกันได้แบบเต็มอิ่ม เต็มพุงกันเลยน้าาาา

 

นอกจากนี้ การเรียนที่นี่ยังได้ใช้ชีวิตทั้งที่มหิดลศาลายา และที่โรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศาลายาว่าของกินเยอะแล้ว … มาศิริราชสิคะ ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ ?

 

การเรียนที่นี้ ถึงแม้ว่าเราจะลงเรียนหลักสูตรไทย แต่นอกจากเรื่องที่จะได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 แล้ว เรายังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ทั้งจากเพื่อนจากต่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมสานสัมพันธ์กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่จะทำให้เราได้ทั้งเพื่อน และความรู้ไปพร้อมๆกัน กิจกรรมเหล่านี้ จะมีมาเรื่อยๆ และทุกคนก็สามารถที่จะเข้าร่วมได้ ขอเพียงมีใจรัก และมีความสุขไปกับทั้งการเรียน และการทำกิจกรรม

CPO

นักกายอุปกรณ์ จะทำงานร่วมกับแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ดังนั้น ในการเรียนและการทำงาน เราจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับสังคมการทำงานในโรงพยาบาล แถมวิชาชีพนี้ยังมี “ใบประกอบโรคศิลปะ” โดยเฉพาะเป็นของตัวเองด้วย ซึ่งทุกๆคน รวมถึงชาวต่างชาติ ต่างก็อยากที่จะสอบใบประกอบนี้ให้ผ่าน เพราะเราได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างที่เคยบอกไปแล้วนั่นเอง

 

เล่าไปก็ยาวเหยียด ไม่จึ้งตรงไหน เอาปากกามาวาดหน้าพี่ได้ พิมพ์ไปยิ้มไป ดึงทุกมุกมาล่อน้องๆขนาดนี้ มาทำความรู้จักการเรียนรู้ในสาขานี้กันเยอะๆนะ ทุกคนรอน้องๆอยู่ ที่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร จ้าาาาา

Read More

ความหลากหลายของกีฬากรีฑา อีกหนึ่งความสำเร็จของไทยใน พาราลิมปิก เกมส์ โตเกียว 2020

ความหลากหลายของกีฬากรีฑา อีกหนึ่งความสำเร็จของไทยใน พาราลิมปิก เกมส์ โตเกียว 2020

เมื่อไม่นานมานี้หลายคนน่าจะได้ยินข่าวดีจากทัพนักกีฬาไทยใน พาราลิมปิก โตเกียว 2020 แล้วถึงการได้รับชัยชนะ จากการแข่งขันประเภทกรีฑา มาถึง 9 เหรียญด้วยกัน

กีฬากรีฑาในพาราลิมปิคเกมส์ถูกแบ่งออกเป็น 6 คลาสด้วยกันนั่นเอง โดยในแต่ละคลาสก็จะถูกแบ่งออกอีกเป็น 2 ประเภท คือแบบลู่ T (track)กับประเภทลาน F (field)

คลาสที่ 1 vision impairment (T/F11-T/F13) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสายตา โดยจะมีการแบ่งรายละเอียดรูปแบบการแข่งขันลงไปอีกเพื่อความยุติธรรม

คลาสที่ 2 INTELLECTUAL IMPAIRMENT (T20/F20) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีการแข่งขันทั้งรูปแบบการวิ่ง(running)และการกระโดดไกล(long jump)

คลาสที่ 3 COORDINATION IMPAIRMENTS (F31, T32/F32-T38/F38) สำหรับนักกีฬาที่มีความบกพร่องในการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ เช่นผู้เข้าแข่งขันที่มีภาวะสมองพิการ(cerebral Palsy)หรือภาวะบาดเจ็บของสมอง(Traumatic Brain Injury)โดยในคลาสนี้จะมีการแข่งขันทั้งในรูปแบบของการขว้าง(throwing )การกระโดดไกล(long jump)หรือการวิ่ง(running) เป็นต้น

คลาสที่ 4 SHORT STATURE (T40/F40, T41/F41)หรือ ภาวะตัวเตี้ย ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิด ตามส่วนสูงและสัดส่วนของแขน

คลาสที่ 5 LIMB DEFICIENCIES (T42/F42 – T46/F46, T47; T/F61-64)สำหรับนักกีฬาที่สูญเสียขาหรือแขนทั้งจากการผ่าตัดหรือจากความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด โดยในการแข่งขันจะมีทั้งการแข่งในรูปแบบของการทุ่มน้ำหนักหรือการแข่งขันขว้างลูกเหล็ก(shot put) กระโดดสูง(high jump)และการวิ่ง(running)ซึ่งในคลาสนี้ นักกีฬาจะมีการใช้ขาเทียมหรือแขนเทียมมาเป็นอีกส่วนสำคัญในการเข้าแข่งขันอีกด้วย

คลาสที่ 6 IMPAIRED MUSCLE POWER OR IMPAIRED RANGE OF MOVEMENT (T51-54; F51-57)หรือผู้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีการเคลื่อนไหวจำกัด นักกีฬาในคลาสนี้จะมีทั้งการแข่งโดยใช้วีลแชร์อย่าง วีลแชร์เรซซิ่งหรือการนั่งบนเก้าอี้เฉพาะสำหรับการแข่งขันในรูปแบบการขว้าง(Throwing chair) โดยการแข่งขันจะถูกแบ่งประเภทไปตามความสามารถของการใช้กำลังกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนแตกต่างกันไป

ขอบคุณข้อมูลจาก International Paralympic committee

Read More