Archives for 7 ต.ค.,2021

You are browsing the site archives by date.

,

อยากเรียนกายอุปกรณ์

อยากเรียนกายอุปกรณ์

SSPO

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์
Bachelor of Science Program in Prosthetics and Orthotics

อยากเรียนกายอุปกรณ์ !! แต่กายอุปกรณ์มีหลักเกณฑ์การรับเข้าเรียนต่อยังไงบ้าง มีรับกี่รอบ รอบละกี่คน สถิติการรับเข้าเรียนต่อมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ? ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย … สาขานี้จะรับอย่างไรก็ไม่รู้ … หันไปถามเพื่อนที่นั่งข้างๆดู อยากจะรู้ในความเป็นไป … เธอยังไม่รู้เรื่อง Admission ใช่หรือเปล่า ? เธอนั้นอยากเรียนกายอุปกรณ์ ใช่หรือไม่ ? เธอยังคงนั่งสงสัยคนเดียว ยังรอคำตอบคนเดียว เธอยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ใช่ไหม … ช่วยบอก ให้รู้ที

นักร้องข้ามกำพังร้องจนจบเพลงแล้ว น้องบอก ร้องทำไมพี่ ไม่ได้คำตอบสักอย่าง … แหม ใจเย็นๆสิ ที่นี่มีคำตอบเสมอแหละจ้า  ก็ต้องบอกเลยว่า ฤดูกาลของ TCAS65 วนมาอีกแล้ว เหมือนใจน้อง ที่มูฟออนเป็นวงกลม TCAS ก็วนเป็นวงทุกปีเช่นกัน ซึ่งปีนี้ ทางโรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็ได้รับคำถามจากน้องๆอย่างล้นหลาม

  • เปิดเมื่อไหร่ ?
  • รับอย่างไร ?
  • รับกี่รอบ ?
  • รอบละกี่คน ?
  • บลา บลา บลา

ใต้ความอยากเรียนสาขานี้ ต่างก็มีคำถามมากมายหลายหลาก  เริ่มต้นจาก กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? จนไปถึงการรับสมัครเป็นอย่างไร … มาค่ะ มาหาคำตอบไปพร้อมๆกัน

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นหลักสูตรที่มีทั้ง หลักสูตรไทย และ หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งมีข้อกำหนดในการรับเข้าศึกษาต่อแตกต่างกัน และเหมาะกับนักศึกษาต่างกลุ่มกัน โดยในบทความนี้ เราจะมาโฟกัสที่หลักสูตรไทย ในระดับปริญญาตรีกันค่ะ

 

  1. การรับนักศึกษามีทั้งหมดกี่รอบ
    ขอบอกว่า การรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ มีการเปิดรับทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งในแต่ละรอบก็จะมีรายละเอียดการรับในจำนวนที่แตกต่างกัน  โดยในปี 2565 นี้ สามารถดูจำนวนรับนักศึกษาได้จาก เอกสารจำนวนที่เปิดรับ รอบ 1-3 ปี 2565  โดยเอกสารจะมีรายละเอียดหลักเกณฑ์เบื้องต้น ที่น้องๆ ต้องผ่านให้ได้ในแต่ละรอบด้วยนะคะ
  2. การรับเข้าศึกษาแต่ละรอบ มีความแตกต่างกันอย่างไร
    ขอเริ่มจาก รอบที่ 1 Portfolio  รับแค่รอบ 1/2 เท่านั้น
    โดยจะมีการส่งพอร์ต และอัดคลิป VDO แนะนำตัวเองสั้นๆ พร้อมกิจกรรมที่น้องๆเคยทำมา ในช่วงที่เรียนมัธยมอยู่ ( ขายความเป็นตัวเองยังไงก็ได้ ให้คณะกรรมการเลือกเรา เน้นความจึ้งในตัวน้องๆเป็นหลัก ) เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว ก็จะมีการสัมภาษณ์ โดยน้องๆควรเตรียมตัวการสอบสัมภาษณ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พกความมั่นใจมาให้เต็มกระเป๋า แล้วมาเจอกันที่ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  3. รอบที่ 2 และ รอบที่ 3 ของปี 2565 จะมีจำนวนรับที่แตกต่างกัน โดยสามารถดูสถิติคะแนนที่ผ่านมาได้ จากเอกสารที่พี่ฝ่ายการศึกษาอัปเดตไว้ให้ รวมถึงดูภาพรวมการรับเข้าศึกษาได้จาก หลักสูตรสำหรับนักเรียนไทย นั่นเอง
  4. จะทำการสมัครอย่างไร
    การรับเข้าศึกษาต่อนั้น จะรับผ่านระบบ TCAS 2565 สำหรับ ทุกๆรอบ โดยที่น้องๆควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านระบบ TCAS 2565 และเว็บไซต์ Mahidol TCAS อีกครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

TCAS

 

Mahidol TCAS

สามารถคลิกที่รูปภาพ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ TCAS และ Mahidol TCAS ได้


Website ที่ผู้สมัครควรรู้จัก


 

ถ้าเธอฮู้แล้ว … เธอจะสมัครอยู่บ่ ?

แหม … สมัครสิเนอะ … สาขาวิชาดีๆแบบนี้ ปล่อยพลาดได้ไง (( แอบกระซิบว่า รอบพอร์ตในปีนี้ รับมากกว่าปีอื่นๆด้วยนะ )) ถ้าถามว่าสาขาเราต้องการคนแบบไหน ก็อยากจะบอกเลยว่า ต้องการคนที่ “อยากเรียนในสาขานี้จริงๆ” มั่นคง และแน่วแน่ ในการเรียนในสาขาวิชานี้ อยากเติบโตไปพร้อมๆกับครอบครัวกายอุปกรณ์ของพวกเรา

พี่ๆ ฝ่ายการศึกษาทุกคน รวมถึงรุ่นพี่ทุกๆรุ่น ทุกๆประเทศทั่วโลก รอต้อนรับน้องๆ เข้าสู่รั้วโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วเจอกันในปีการศึกษา 2565 นี้นะ

CPO

Read More
,

กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ?

กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ?

จบไปทำอะไรได้บ้าง ?

คำถามสุดฮอต … ยังคิดฮอต แต่ตอบบ่ได้ (( เพลงก็คือเรียกได้ว่ารู้อายุแอดมิน )) … เอ๊ะ ไม่ใช่สิ !! คำถามสุดฮอต แต่คำตอบอยู่ที่นี่ ” กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? ” แหมมมม … ฤดูสมัครเรียนต่อก็วิ่งเข้ามา เวลาก็นับถอยหลัง อย่างกับ Squid Game !! แต่ก่อนจะถึงเป้าหมาย เราควรรู้และทำความเข้าใจก่อนว่า “กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร” ใครคนนั้นที่ใช่เราหรือเปล่า … เพราะต้องบอกก่อนว่า เลือกสาขาที่จะเรียน ก็เหมือนเลือกแฟนเลยทีเดียว เลือกถูกชีวิตสดใส เลือกผิดไปเสียเวลานะเออ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ Bachelor of Science Program in Prosthetic and Orthotics เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับ การออกแบบและผลิตอุปกรณ์เพื่อทดแทนอวัยวะจริง เช่น ขาเทียม แขนเทียม ข้อต่อเทียม เพื่อผู้พิการ นักกีฬา รวมถึงผู้สูงอายุ … รู้กันใช่ไหมล่ะ ว่า ประเทศไทย กำลังมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็ววัน (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาชีพนักกายอุปกรณ์)

 

แล้ว กายอุปกรณ์เหมาะกับใคร ? เรียนยังไงบ้าง ? การเรียนในสาขานี้ จะเรียนในรูปแบบกึ่ง Inter (( จะบอกว่า Inter เลยก็ได้ในปี 2-4 ดังนั้น น้องๆควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาในระดับหนึ่งนะ ถึงแม้ว่าจะเรียนหลักสูตรไทยก็ตาม … เรียนแบบอินเตอร์ แต่ค่าเทอมแบบไทย ไม่คุ้มตรงไหน เอาปากกามาวง ))  โดยคำถามที่ว่า สาขานี้เหมาะกับใคร  ก็คงจะตอบได้เพียงคร่าวๆ ว่า

  • เหมาะกับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  มีจิตสาธารณะ
  • เหมาะกับคนที่ชอบการทำงานในสถานพยาบาล  ชอบช่วยเหลือคนไข้  และผู้พิการ รวมถึงผู้สูงอายุ
  • เหมาะกับคนที่อยากเรียนต่อด้านแพทยศาสตร์ในอนาคต
  • เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนต่อในสาขากายอุปกรณ์ ทั้งในและต่างประเทศ
  • เหมาะกับคนที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในสังคมผู้พิการและผู้สูงอายุ
  • เหมาะกับคนที่อยากประกอบอาชีพนักกายอุปกรณ์ >>> สำคัญสุดๆเลยนะข้อนี้

 

ถ้ารู้สึกว่า ใช่ !! เราอยากเรียนสาขานี้ หรือสนใจสาขานี้ สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บทความเรื่อง “อยากเป็นนักกายอุปกรณ์” แต่ !! ยังไม่พอนะ ทุกคนสามารถกด Like กดติดตาม Fanpage เพื่อติดตามข่าวสาร อัพเดตสดใหม่ ของโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ที่ SSPO Thailand

 

SSPO Thailand

 

นอกจากนี้ ทุกๆคน ยังสามารถเข้าเว็บไซต์ของเรา เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ในเมนู การศึกษา >> ก่อนปริญญา แล้วจะพบว่า ทุกคำถามยังมีคำตอบเสมอ

 

จะ TCAS กี่รอบ เราก็มีคำตอบให้ทุกคน … อยากให้ทุกคนได้เลือกหนทางที่เหมาะกับตัวเอง เลือกแผนการเรียนที่ใช่ แผนการเรียนที่ดีต่อใจ และเข้ามาพบกับความจึ้ง ในสาขาวิชานี้ได้ ที่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร

 

อ๊ะแต่ !! … แต่ว่า … รู้หมือไร่ ? สาขานี้ มีที่เดียวในประเทศไทยนะจ๊ะ แถมยังได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ การันตีด้วยรางวัลต่างๆ รวมถึงศิษย์เก่าที่เรียนจบไปแล้ว จากทั้งในและต่างประเทศ เพราะ เรามีนักศึกษาจากต่างประเทศ มาเรียนที่นี่ด้วยทุกๆปี และไม่ว่าจะจัดสัมนาอะไร ก็มีคนเข้าร่วมจากมากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก

 

Worldwide ขนาดนี้ ไม่สมัคร ไม่ยอมลง แอดมินจะงงใส่แล้วนะ … เอาอะไรมาไม่ปังก่อน หาที่ได้ได้ก่อน ไม่มี๊ เพราะ มีที่นี่ที่เดียวเลยจ้า อาจารย์เราแต่ละท่านก็ปังๆทั้งนั้น ปังทั้งหน้าตา และความรู้ ที่เรียกได้ว่าตบแถวการันตีความปั๊วะกันมาแบบสุดๆ

 

รุ่นพี่ก็น่ารัก … ได้เข้ามาระวังแอบหลงรักรุ่นพี่ มะงุ้ยยยยย ถึงที่โรงเรียนจะไม่มีผีเสื้อให้มาดู แต่รู้ไม๊ว่ารุ่นพี่น่ารักๆทั้งนั้นเลย สามารถพบกับรุ่นพี่ได้ที่ Fanpage ค่ายคนทำขา Born to be PO Camp ได้เลยจ้า

 

ค่ายคนทำขา

 

รุ่นพี่ไม่เพียงแต่น่ารัก แต่ยังพร้อมที่จะตอบคำถามรุ่นน้องได้ และถ้าใครอยากรู้จักสาขาวิชานี้มากกว่านี้ สามารถสมัครเข้าร่วมค่ายคนทำขากับพี่ๆได้เลยนะเออ … ค่ายนี้มีเปิดทุกปี เรียกได้ว่า มาทำความรู้จักกันได้แบบเต็มอิ่ม เต็มพุงกันเลยน้าาาา

 

นอกจากนี้ การเรียนที่นี่ยังได้ใช้ชีวิตทั้งที่มหิดลศาลายา และที่โรงเรียนกายอุปกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศาลายาว่าของกินเยอะแล้ว … มาศิริราชสิคะ ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ ?

 

การเรียนที่นี้ ถึงแม้ว่าเราจะลงเรียนหลักสูตรไทย แต่นอกจากเรื่องที่จะได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 แล้ว เรายังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ทั้งจากเพื่อนจากต่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมสานสัมพันธ์กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่จะทำให้เราได้ทั้งเพื่อน และความรู้ไปพร้อมๆกัน กิจกรรมเหล่านี้ จะมีมาเรื่อยๆ และทุกคนก็สามารถที่จะเข้าร่วมได้ ขอเพียงมีใจรัก และมีความสุขไปกับทั้งการเรียน และการทำกิจกรรม

CPO

นักกายอุปกรณ์ จะทำงานร่วมกับแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ดังนั้น ในการเรียนและการทำงาน เราจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับสังคมการทำงานในโรงพยาบาล แถมวิชาชีพนี้ยังมี “ใบประกอบโรคศิลปะ” โดยเฉพาะเป็นของตัวเองด้วย ซึ่งทุกๆคน รวมถึงชาวต่างชาติ ต่างก็อยากที่จะสอบใบประกอบนี้ให้ผ่าน เพราะเราได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างที่เคยบอกไปแล้วนั่นเอง

 

เล่าไปก็ยาวเหยียด ไม่จึ้งตรงไหน เอาปากกามาวาดหน้าพี่ได้ พิมพ์ไปยิ้มไป ดึงทุกมุกมาล่อน้องๆขนาดนี้ มาทำความรู้จักการเรียนรู้ในสาขานี้กันเยอะๆนะ ทุกคนรอน้องๆอยู่ ที่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร จ้าาาาา

Read More