บทความ

ประกาศเปิดรับสมัครหอพักประจำภาคการศึกษาที่ 1/2566

For Thai domestic student only
ประกาศเปิดรับสมัครหอพักประจำภาคการศึกษาที่ 1/2566
(เข้าอยู่เดือนสิงหาคม 2566)
สามารถอ่านรายละเอียดการเปิดรับสมัครเพิ่มเติม
จากประกาศโรงเรียนฯได้ที่
และสามารถดาวน์โหลดใบสมัครขอเข้าอยู่หอพักได้ที่
โดยสามารถกรอกและส่งใบสมัครได้ที่
สำนักงานโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร
หรือ ทางอีเมล studentaffairs.sspo@gmail.com
★★ ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 20 มกราคม 2566 ★★
Read More

SSPO 20th Anniversary

SSPO is now celebrating 20th anniversary! ✨✨
 
Can’t believe that it’s been already 20 years
since the school first established in 2002 and we are really proud of that.
 
We started from a few but now we are many,
but this will not stop us to continue growing more and more!
 
Join us on celebration by sending your e-card here:
 
Thank you for your continuous love and support towards SSPO!
Read More
,

วันจักรยานโลก 3 มิถุนายน กับงานวิจัยของอาจารย์ปิ่น

 

รู้หรือไม่ว่า วันที่ 3 มิถุนายน ถูกกำหนดให้เป็น “วันจักรยานโลก”

 

เราจะเห็นได้ว่า เทรนด์การปั่นจักรยานของประเทศไทยนั้นลุกขึ้นมาก มีบุคคลหลายกลุ่มที่เลือกปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้แต่เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน

 

วันนี้ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร อยากจะขอนำเสนองานวิจัยของ อ.ดร.จุฑามณี ปุ่นศิริ (อ.ปิ่น) ที่ศึกษาในเรื่องของ การปั่นจักรยานในผู้ที่สูญเสียขา ซึ่งอาจารย์ปิ่นได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ขณะศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งหนึ่งในงานวิจัยที่ได้ศึกษายังได้เลือกเป็น  Editor’s Choice Collection on the Tokyo Summer Games ตอนงานพาราลิมปิกเกมส์ 2021 โดยวารสารวิชาการที่งานถูกตีพิมพ์อีกด้วย (BMC Sports Science, Medicine and Rehabilitation )

 

จากงานวิจัยที่สำรวจการปั่นจักรยานทั้งในไทยเเละเนเธอร์แลนด์พบว่าผู้ที่สูญเสียขาส่วนใหญ่มักจะปั่นจักรยานเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ การพักผ่อนหย่อนใจและการเดินทาง โดยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการปั่นจักรยานคือการรับรู้ประโยชน์ของการปั่นจักรยาน การเคยปั่นจักรยานมาก่อนการสูญเสียขา รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมก็อาจมีผลให้คนตัดสินใจมาปั่นจักรยาน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ที่ปั่นจักรยานส่วนใหญ่ใช้เท้าเทียมที่มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าเท้ามาตรฐาน รวมทั้งพึงพอใจกับขาเทียมมากกว่าผู้ไม่ปั่นจักรยาน ดังนั้นการได้รับเท้าเทียมและอุปกรณ์ขาเทียมที่เหมาะสมอาจช่วยให้ผู้ที่ใช้ขาเทียมสามารถทำกิจกรรมต่างๆที่อยากทำได้มากขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ปั่นจักรยานนั้นมักจะรายงานปัญหา อุปสรรคหรืออันตรายจากการปั่นจักรยาน ยิ่งไปกว่านั้นการที่คนดัตช์ปั่นจักรยานมากกว่าไทยอาจสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวดัตช์ที่มีการปั่นจักรยานเป็นปกติและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทีเอื้อต่อการปั่นจักรยาน เช่น การเข้าถึงจักรยานไฟฟ้า เส้นทางการปั่นจักรยานและนโยบายด้านความปลอดภัยสําหรับผู้ใช้จักรยานที่ดี

 

ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีเส้นทางการปั่นจักรยาน หรือเลนพิเศษให้กับผู้ที่สนใจปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายหรือพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจปั่นจักรยาน รวมถึงผู้พิการที่สนใจการปั่นจักรยานด้วย

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านหันมาขยับร่างกายเพื่อสุขภาพ ออกมาเดิน วิ่ง หรือแม้แต่ปั่นจักรยาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในทุกๆวันร่วมกันนะคะ

 

ขอขอบคุณ  อ.ดร.จุฑามณี ปุ่นศิริ (อ.ปิ่น) 

สนใจอ่านงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3Q0L9ng และ https://bit.ly/3tcfQvZ 

 

รวมถึง ขอขอบคุณ ฝ่ายวิจัย โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

Read More

ฝ่ายการพยาบาลฯ เข้าศึกษาดูงาน DM Foot Clinic

เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 น. บุคลากรจากฝ่ายการพยาบาลฯ จำนวน 15 คน ได้เข้าศึกษาดูงาน DM foot clinic ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.พญ. กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมต้อนรับ พบปะ พูดคุย กับทีมผู้เข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คณะผู้ศึกษาดูงาน จะได้โยชน์จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ในการให้บริการผู้ป่วยในสังคมไทยต่อไป

Read More

ฝ่ายการพยาบาลฯ เข้าศึกษาดูงาน DM Foot Clinic

เมื่อวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 น. บุคลากรจากฝ่ายการพยาบาลฯ จำนวน 15 คน ได้เข้าศึกษาดูงาน DM foot clinic ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.พญ. กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมต้อนรับ พบปะ พูดคุย กับทีมผู้เข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้

 

โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คณะผู้ศึกษาดูงาน จะได้โยชน์จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ในการให้บริการผู้ป่วยในสังคมไทยต่อไป

Read More

คุณดวงเดือน เจริญจิตต์กุล มอบเงินบริจาคกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366)

 

คุณดวงเดือน  เจริญจิตต์กุล มอบเงินบริจาค จำนวน 1,000,000 (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ (D3366) รับมอบโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ตึกอำนวยการ  โรงพยาบาลศิริราช  วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565

 

สำหรับผู้ที่สนใจบริจาค สามารถศึกษาได้ที่  การบริจาคทุนทรัพย์เพื่อผู้พิการ

Read More

PO in Cinema : Harry Potter

★ วิงการ์เดียม เลวีโอซ่า !!! เปิดมาขนาดนี้ PO in Cinema เดือนนี้คงหนีไปไม่พ้นภาพยนตร์อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) เรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดแม่มดในโลกของผู้วิเศษ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ ออกฉายครั้งแรกในปี 2001 กับภาคศิลาอาถรรพ์ และปิดฉากด้วยภาค 7.2 เครื่องรางยมทูต ในปี 2011 นับจากปีแรกมาจนปัจจุบันความนิยมของหนังเรื่องนี้ยังคงถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องทำให้ปีนี้เป็นการครบรอบ 20 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่ได้สร้างความสนุกในโลกไร้เวทมนตร์ใบนี้ SSPO THAILAND จึงอยากหยิบยกบทความที่มีประเด็นน่าสนใจมาเล่าให้ทุกคนอ่านกัน
.
Line PO in Cinema
.
★ “What we can learn about disability from Harry Potter’s amputee characters“ (เรียนรู้ความพิการจากบทบาทตัวละครในหนังแฮรี่พอตเตอร์) คือบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดย เอมิลี่ ฮาร์วีย์ (Emily Harvey) เธอคือหญิงสาวผู้พิการคนแรกที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองไปกับขาเทียมคู่ใจของเธอผ่านการลงแข่งไตรกีฬาในงาน Ironman Boulder ปี2018 เอมิลี่เริ่มใส่ขาเทียมตอนอายุ 2 ขวบจากโรค Fibular Hemimelia หรือการขาดหายไปทั้งหมด/บางส่วนของกระดูกน่อง (Fibula bone) ทั้งนี้เธอได้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมาในชื่อ emily-harvey.com ที่เป็นเหมือนกับบล็อกส่วนตัวที่เอาไว้รวบรวมเรื่องราวชีวิต กิจกรรมที่เธอไปทำมา รวมถึงบทความนี้ด้วย
.
Line PO in Cinema
.
★ เอมิลี่เริ่มต้นบทความด้วยตัวละครอย่าง ปีเตอร์ เพ็ตติกรูว์ (Peter Pettigrew) หรือหางหนอน (Wormtail) โดยในภาคที่4 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ปีเตอร์ได้ตัดแขนข้างขวาของตัวเองเพื่อชุบชีวิตให้กับลอร์ดโวลเดอมอร์ (Lord Voldemort) และหลังจากที่ฟื้นคืนชีพ โวลเดอมอร์ก็ได้เสกแขนสีเงินเงาวับให้กับปีเตอร์เป็นการตอบแทน ฉากนี้เองเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เคโรว์ ลิง(J.K. Rowling) ที่ได้เขียนบทตัวละครนี้ขึ้น มันทำให้เห็นว่าการเป็นผู้พิการไม่ได้บ่งบอกหรือกำหนดตัวตนว่าเขาเป็นคนอย่างไร เขาหรือเธอสามารถเป็นได้ทั้งคนดีและคนที่สามารถทำผิดหรืออยู่ก้ำๆกึ่งๆ ได้เหมือนกับคนอื่นทั่วไป เอมิลี่ได้พูดถึงตัวเองว่า หลายครั้งที่เธอต้องพบเจอกับผู้คนที่เมื่อรู้ว่าเธอเป็นผู้พิการแต่ยังสามารถมาเล่นกีฬาได้อย่างไตรกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย พวกเขาเหล่านั้นต่างก็เข้ามาชื่นชมเธอ ทั้งๆ ที่พวกเขาแทบจะไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับเธอเลย แค่เพียงเพราะว่าเธอเป็นคนพิการ มันจึงไม่เท่ากับเธอเป็นคนดีหรือเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจอะไร ตัวละครอย่างหางหนอนจึงเป็นการทำให้ ผู้อ่านหรือผู้ชมรับรู้ได้ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นตัวร้ายได้นะ เหมือนกับกัปตันฮุก(Captain Hook)จากเรื่องปีเตอร์แพน (Peter Pan)หรือดาร์ธ เวเดอร์ (Darth vader)จาก สตาร์ วอร์ส(Star Wars) แต่ต่างกันตรงที่ปีเตอร์อยู่กึ่งกลางระหว่างนั้น คือก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรขนาดนั้น ก็เป็นเหมือนคนทั่วไปก็เท่านั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกตัวละครที่เอมิลี่กล่าวถึง คือ Alastor Moody (อลาสเตอร์ มู้ดดี้) หรือ Professor Moody (ศาสตราจารย์มู้ดดี้) เขาคือหนึ่งในมือปราบมารที่พวกเราจดจำเอกลักษณ์ของเขาได้อย่างแม่นยำ ด้วยความที่เขาได้สูญเสียดวงตาและขาข้างซ้ายไปจากสงครามโลกเวทมนตร์ครั้งที่1 ทำให้ในภาพยนตร์เราจะเห็นเขาใส่แว่นตาวิเศษทรงกลมคาดไว้ที่ศีรษะ และเจ้าแว่นตานี้เองก็เป็นที่มาของชื่อเล่นของเขาว่า “Mad Eye” คำนี้เองที่ดูเหมือนว่ามันจะสื่อไปในเชิงลบหรือเป็นการล้อเลียนแต่ในบริบทที่ตัวละครอื่นๆ เรียกอลาสเตอร์นั้นกับให้ความรู้สึกถึงความรักและความพิเศษในตัวของอลาสเตอร์ รวมถึงการที่อลาสเตอร์ใส่ขาเทียมนั้นก็ไม่มีการพูดถึงข้อจำกัด หรือทำให้เป็นอุปสรรคใดๆ ตัวละครนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้กับเหล่าผู้เสพความตายได้อย่างเต็มที่ไม่แพ้กับตัวละครอื่นๆ เลย
.
Line PO in Cinema
.
★ ในช่วงสุดท้ายเอมิลี่ได้กล่าวขอบคุณเจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) และทุกๆ คนที่ทำให้เกิดหนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมันได้ส่งต่อเรื่องราวของตัวละครที่มีความพิการได้แตกต่างออกไปจากภาพยนตร์หรือสื่ออื่นๆ ที่ผ่านมา
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับPO in Cinema : Harry Potter ในเดือนธันวาคม หากใครชื่นชอบสามารถกดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้เรากันได้ และหากใครมีภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการกายอุปกรณ์ของเราก็สามารถคอมเมนท์มาบอกกันได้เลยน้า
.
Line PO in Cinema
.
ขอบคุณบทความจาก emily-harvey
_______________________
ขอบคุณข้อมูลจาก
_______________________
เรียบเรียงโดย มธุริน รายรัตน์
รูปภาพ – เผยแพร่ วัชรี โทสาลี
บทความที่เกี่ยวข้อง
Read More

PO in Cinema : Forrest Gump

★ วันนี้ SSPO Thailand รายการ PO in Cinema จะชวนทุกคนมาพูดถึงภาพยนตร์แนว Comedy – Drama อย่าง Forrest Gump ที่ถูกฉายครั้งแรกในปี 1994 คิดว่าหลายท่านน่าจะเคยดูหรือเห็นผ่านตากันมาบ้าง แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาชวนดูหนังหรือรีวิวให้ดาวอะไร แต่จะพูดถึงฉากเล็กๆ ที่สอดแทรกความกายอุปกรณ์เอาไว้
.
Line PO in Cinema
.
★ ฉากที่ว่านั้นเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของหนัง เป็นช่วงที่เด็กชายฟอเรซและแม่ของเขาไปพบคุณหมอในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยในฉากนั้นคุณหมอกำลังใส่อุปกรณ์หน้าตาประหลาดไว้ที่ขาทั้งสองข้างของฟอเรซ อุปกรณ์ที่ว่านั้นคือ “อุปกรณ์เสริมดามข้อเข่าและข้อเท้าชนิดเหล็ก – Conventional Knee Ankle Foot Orthosis (KAFO)” KAFO ที่ถูกใช้ในทางการแพทย์มายาวนาน ประกอบขึ้นจากโลหะและหนังเป็นวัสดุหลัก โดยส่วนมากหน้าที่ของอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกใช้เพื่อช่วยพยุงหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและข้อเท้า โดยส่วนมาก KAFO ถูกใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโครงสร้างขาผิดรูป (Structural Deformities) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Conditions) เช่น โรคอัมพฤกษ์ อาการไข้สันหลังบาดเจ็บ หรือ โปลิโอ ย้อนไปในช่วงปี 1950 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโปลิโอ ทำให้ เริ่มมีการผลิตKAFOและถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงปี 1970 ได้มีการเริ่มใช้วัสดุพลาสติกเข้ามาเป็นส่วนประกอบ (Thermoplastic KAFO) และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวัสดุและส่วนประกอบให้ดียิ่งขึ้นจนถึงปัจุบัน
.
Line PO in Cinema
.
★ อีกฉากที่มีความเชื่อมโยงกับวงการกายอุปกรณ์คือฉากหลังการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม หัวหน้าทหารของฟอเรซ หรือที่เรารู้จักเขากันว่า หมวดแดน ได้สูญเสียขาทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับต้นขาลงไป (Bilateral Transfemoral Amputation) จากระเบิดในสงคราม ทำให้หลังจากนั้นชีวิตเขาต้องใช้ชีวิตบนวีลแชร์เป็นหลัก แต่หลังจากที่เรื่องราวของทุกตัวละครคลี่คลายลง ในช่วงท้ายของหนังจะมีฉากเล็กๆ ของหมวดแดนที่สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งด้วยการใช้ “ขาเทียม” โดยหนังต้องการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและการก้าวไปข้างหน้าของตัวละครนี้นั้นเอง
.
Line PO in Cinema
.
★ สงครามคือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้กายอุปกรณ์เทียมถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องของรูปแบบ วัสดุที่นำมาใช้รวมถึงการเกิดขึ้นขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ Amputations and Prosthetics ได้มีการกล่าวถึงวิวัฒนาการของขาเทียม ในช่วงสงครามกลางเมือง (American Civil War) ตั้งแต่ปี 1861 – 1865 ช่วงสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และ 2 มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดและเริ่มมีสวัสดิการให้แก่ทหารที่สูญเสียแขนขาไปจากสงคราม อย่างในปี 1863 เริ่มมีการนำระบบสูญญากาศมาใช้กับเบ้าขาเทียม (Suction Socket) มีการพัฒนาของข้อเข่า Polycentric Knee Unit และ Multi-axis Foot ต่อมาในปี 1949 ได้มีการก่อตั้ง American Orthotics and Prosthetics Association (AOPA) และเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ยังคงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเทคนิคการผ่าตัด รูปแบบเท้าเทียม รูปแบบเบ้าขาเทียม และโครงสร้างโดยรวม
.
Line PO in Cinema
.
★ จบไปแล้วกับ PO in Cinema: Forrest Gump หากใครมีภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือสื่อต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง (ซักนิด) เกี่ยวกับกายอุปกรณ์สามารถมาบอกเล่ากันได้ทาง SSPO THAILAND

 


★ ขอขอบคุณข้อมูล ★
ภาพประกอบ – เผยแพร่ นางสาววัชรี โทสาลี
Read More